Tag Archives: มันหิ่ง

มันกู้ มันมู้ มันอ้อน มันพื้นบ้านที่น่าอนุรักษ์

วันนี้จะมาแนะนำมันพื้นบ้านที่น่าสนใจชนิดหนึ่ง นั่นคือ มันกู้ ..โดยจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น มันมู้ , มันอี่มู้ (แจ้ห่ม ลำปาง) , มันโม้(แพร่) , มันอิโม้ , อีมุ้ง ,  มันหิ่ง , มันอ้อน ,  บ่าหัวโข่(เชียงใหม่) , หำมัน(สุรินทร์)  มันชนิดจะมีลักษณะพิเศษคือนอกจากจะมีหัวมันใต้ดินแล้ว ยังมีหัวมันเล็กๆ(บางพื้นที่เรียก”หำมัน”) ออกมาตามเถาที่เลื้อยด้วยซื่งมีขนาดตั้งแต่หัวแม่มือไปจนถึงขนาดกำมือเลย..ซึ่งการออกหัวที่เครือทำให้สะดวกมากๆเวลาเก็บทานไม่ต้องไปนั่งขุดหาเหมือนมันชนิดอื่นๆ แค่ปลูกไว้ให้เลื้อยขึ้นตามต้นไม้หรือตามหลักรั้วก็ได้ เมื่อถึงช่วงฤดูหนาว(ประมาณกันยา-พฤศจิกายน)ก็จะออกผลมาให้ทานกัน ซึ่งเหมาะกับช่วงเวลาหน้าหนาวที่มีอากาศเย็นพอดี เพราะสมัยก่อนคนทางเหนือมักจะทำมันกู้มาหมกกับกองไฟเวลาที่นั่งผิงไฟ หรือบางคนก็จะนำมาต้ม บางคนก็นำมานึ่ง แล้วก็นำมาจิ้มกับน้ำตาลผสมเกลือเล็กน้อย(เหลือจะใส่เกลือตอนต้ม แล้วเอามาจิ้มกับน้ำตาลก็ได้) จะให้รสชาติอร่อย มันๆคล้ายเผือกแต่ว่าเหนียวหนึบกว่า ถือเป็นของกินพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่งของทางเหนือที่กำลังจะเลือนลางหายไป ข้อควรระวังในการทานมันกู้คือ ต้องทำให้สุกเท่านั้น เพราะจะทำให้คันถ้าหากทำไม่สุก วิธีขยายพันธุ์ : ก็เพียงแค่เก็บลูกมันกู้ที่ร่วงหล่นจากเถาวัลย์ไว้..รอให้พ้นช่วงพักตัวให้มันแตกยอดขึ้นมา จากนั้นก็ค่อยนำไปฝังดินไว้ตามโคนต้นไม้ ตามหลักรั้ว ปลูกเพียงปีเดียวก็สามารถออกผลผลิตแล้ว ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวนเพราะว่าเป็นมันพื้นบ้าน คนที่ชอบทานอาหารปลอดสารพิษห้ามพลาดเด็ดขาด  

read more